div.2 คืออะไร
ผมเองถูกสอนเกี่ยวกับการจัดฟันจาก มหาวิทยาลัย Tel Aviv และเป็นหมอจัดฟันและทำงานด้านจัดฟันมามากกว่า 20 ปี ที คลินิก Modern Smile ได้ยินแต่คำว่า Cl.2 div.2 ช่วงหลังนี้มันก็ทำให้เกิดคำถามในใจว่า “เอ๊ะ” แล้ว malocclusion แบบอื่นๆ เช่น Cl.1 div2 หรือ Cl.3 div.2 มีหรือไม่ ใน Dark Blog นี้
ก่อนอื่นเลยเราต้องมาทำความเข้าใจในการแบ่งรูปแบบการสบฟัน Angle Classification แบบต่างๆที่หมอจัดฟันเรียนกันมาตั้งแต่เรียน undergrad จนจบจัดฟัน แต่ขอทบทวนสำหรับบางท่านที่อาจจะลืมหรือไม่คุ้นชินเนื่องจากไม่ได้ทำงานด้านนี้มานาน จริงๆแล้วการแบ่งแบบ Angle Classification เป้นการแบ่งความผิดปกติในแนว A-P เท่านั้น ซึ่งลักษณะ malocclusion นั้นมีสาเหตุที่มีความซับซ้อนกว่านี้เยอะมาก ซึ่งต้องพิจารณาทุก plane ได้แก่ (Antero-Posterior (Sagittal Plane), Vertical Plane (open bite / deep bite), Frontal (Coronal Plane), Intraarch (Transverse plane)
Angle Classification มีการแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้
- Cl.1 malocclusion
- Cl.2 malocclusion
- Cl.3 malocclusion
Cl.1 malocclusion คือ มีลักษณะโครงสร้างของขากรรไกรบนและล่าง ที่มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่สมดุลย์กัน (A-P Plane) อาจจะใหญ่หรือเล็กกว่าปกติทั้งขากรรไกรบนและล่างเท่าๆกันและสมดุลย์กัน (Normal arches interrelationship) แต่อาจจะมีการผิดปกติที่ Intra-arch เช่น crowding, spacing, constriction, expansion หรือ และ ความผิดปกติในแนว vertical เช่น open bite หรือ deep bite เป็นต้น
Cl.2 malocclusion คือ มีลักษณะโครงสร้างของขากรรไกรบนและล่าง ที่มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่ไม่สมดุลย์กันโดยขากรรไกรบนจะใหญ่กว่าขากรรล่าง โดยอาจจะเกิดจาก
- ขากรรไกรบนปกติ และขากรรไกรล่างเล็กกว่าปกติ (Short Mandible) หรือ
- ขากรรไกรบนใหญ่กว่าปกติ และขากรรไกรล่างมีขนาดปกติ หรือ
- ขากรรไกรบนใหญ่กว่าปกติและขากรรไกรล่างเล็กกว่าปกติผสมกัน
Cl.3 malocclusion คือ มีลักษณะโครงสร้างของขากรรไกรบนและล่าง ที่มีขนาดของขากรรไกรบนและล่างที่ไม่สมดุลย์กันโดยขากรรไกรบนจะเล็กกว่าขากรรล่าง โดยอาจจะเกิดจาก
- ขากรรไกรบนปกติ และขากรรไกรล่างใหญ่กว่าปกติ (Short Mandible) หรือ
- ขากรรไกรบนเล็กกว่าปกติ และขากรรไกรล่างมีขนาดปกติ หรือ
- ขากรรไกรบนเล็กกว่าปกติและขากรรไกรล่างใหญ่กว่าปกติผสมกัน
จะเห็นได้ว่า Angle Classification ไม่ได้บอกความผิดปกติแนวอื่นเลย ดังนั้น การ diagnosis แบบสมัยใหม่ เราจะต้องรวมความผิดปกติในแนวอื่นๆใส่เข้าไปด้วย เช่น Cl.1 Crowding, X- bite and Constricted upper arch, Deep Over Bite, เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องรวม เรื่อง OMD (Orofacial Myofunctional Disorder) เข้าไปด้วย
อรัมภบท มาตั้งเยอะ เพิ่งจะเข้าเรื่องตามหัวข้อ div.2 ตามความเข้าใจของผู้เขียน เข้าใจว่า มันคือ OMD นั่นเอง เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ก็ตาม ที่มี Hyperactive of Perioral muscle คนไข้คนนั้นก็จะมีอาการที่เรียกว่า div.2 อาการที่พบคือ ฟันเกบริเวณฟันหน้า อาจจะเป็นทั้งฟันบนล่าง และอาจจะมีฟันเกบริเวณฟันหลังด้วย ก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ OMD
OMD จริงๆแล้วสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด malocclusion ได้ เช่น Open bite, Deep bite, Short / long face, constricted / expanded arch, anterior / posterior x-bite และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเอาไว้จะเขียนเรื่อง OMD อีกครั้งซึ่งเป็นหัวข้อใหญ่เลยครับ
จากตัวอย่างข้างบนแสดงให้เห็นว่า div. 2 ไม่ได้จะมีเฉพาะใน Cl.2 เท่านั้น มันอาจจะเป็น Cl.1 div. 2 หรือ Cl.3 div. 2 ก็ได้ถ้ามี Hyperactive of Perioral muscle ร่วมด้วย เพียงแต่ว่าในสมัยก่อนการจัดฟันยังไม่เน้นเรื่อง OMD มากนัก โดยเฉพาะในอเมริกา
สรุป ดังนั้นการ diagnosis สมัยใหม่ต้องเขียนให้ครบทุก plane (Sagittal Plane, Vertical Plane , Frontal Plane, Transverse plane) แล้วต้องไม่ลืมเรื่อง OMD โดยเด็ดขาด การ diagnosis ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ครบถ้วน ก็จะเสมือนประสบผลสำเร็จในการรักษาไปแล้วครึ่งนึง เหมือนคำกล่าวว่า “เริ่มต้นดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”
เรียนจัดฟันแบบ On site เปิดรับรุ่น 7 : เริ่มเรียน ประมาณ พค. 2023